13 คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับแฟรนไชส์สเต็กบีเทสตี้ที่มีผู้สอบถามบ่อย
- สเต็กบีเทสตี้คิดเงินค่าแฟรนไชส์เท่าไหร่ - ไม่คิดเงินค่าแฟรนไชส์เลยแม้แต่บาทเดียว (ค่าแรกเข้า, ค่ารายเดือน-รายปี และ เงินส่วนแบ่งยอดขาย)
- สาเหตุที่สเต็กบีเทสตี้ไม่คิดเงินค่าแฟรนไชส์ – ทางเรามีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการที่สนใจดำเนินธุรกิจในกิจการร้าน สเต็กให้บริหารงบประมาณในการลงทุนไปตามความเป็นจริง โดยทางเราจะให้คำแนะนำตามความเหมาะสม และตามความจริงในทุกขั้นตอนก่อนและหลังเปิดดำเนินกิจการ
- ไม่คิดค่าแฟรนไชส์ แล้วทางเจ้าของแฟรนไชส์(แฟรนไชส์มาสเตอร์)จะได้ผลประโยชน์จากอะไร – แฟรนไชส์มาสเตอร์จะได้ผลประโยชน์จากค่าวัตถุดิบบางอย่างที่ทางเราบังคับให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์(แฟรนไชส์ซี)ซื้อกับทางแฟรนไชส์มาสเตอร์เช่น เนื้อหมูหมัก, เนื้อไก่หมัก, เนื้อวัวหมัก, พอร์คชอพหมัก, ทีโบนหมัก, น้ำเกรวี่, น้ำบาร์บีคิว, น้ำสลัด, น้ำซุปเห็ด, น้ำซอสสปาเก็ตตี้ ฯ กล่าวคือเป็นวัตถุดิบที่ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์เป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง และต้องการให้ร้านสเต็กบีเทสตี้ทุก ๆ สาขาเป็นเอกลักษณ์เดียวกัน ส่วนวัตถุดิบที่ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์ต้องการให้ร้านสเต็กบีเทสตี้ทุก ๆ สาขาเป็นเอกลักษณ์เดียวกัน แต่ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์ไม่ได้เป็นผู้ผลิตขึ้นมาเองเช่น เนื้อปลา, ไส้กรอก, เฟรนช์ฟรายด์ ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์จะให้คำแนะนำในการจัดซื้อกับแฟรนไชส์ซี เพื่อเป็นการช่วยควบคุมเงินลงทุนให้กับทางแฟรนไชส์ซี
- แฟรนไชส์มาสเตอร์ไม่คิดเงินค่าแฟรนไชส์แล้วจะควบคุมแฟรนไชส์ซีแต่ละร้านยังไง – ในหนังสือสัญญาซื้อ-ขายแฟรนไชส์ที่ได้เซ็นตกลงกันระหว่างแฟรนไชส์มาสเตอร์และแฟรนไชส์ซีนั้นจะมีข้อบังคับและข้อกำหนดที่รัดกุมพอสมควร เพื่อให้เกิดความสบายใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อเป็นการให้เกียรติต่อร้านแฟรนไชส์ซีที่ได้เปิดร้านไปก่อนหน้านั้นแล้ว โดยในวันที่แฟรนไชส์ซีเดินทางเข้ามาคุยกับแฟรนไชส์มาสเตอร์นั้น จะมีตัวอย่างหนังสือสัญญาฉบับนี้ให้ดูด้วย
- พอจะบอกได้ไหมว่า เงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดร้านสเต็กบีเทสตี้ 1 ร้าน ใช้เงินลงทุนสักเท่าไหร่ - เป็นคำถามที่กว้างมากและมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องนำมาเป็นส่วนประกอบได้แก่
- ต้องการเปิดร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีโต๊ะ-ที่นั่งให้ลูกค้าทั้งหมดเท่าไหร่ หรือต้องการเปิดเป็นแบบเคาน์เตอร์ให้ลูกค้าซื้อกลับบ้านเท่านั้น
- เปิดร้านในพื้นที่แบบไหน ภายใน-ภายนอกอาคารพาณิชย์ หรือพื้นที่ริมทาง หรือเปิดในห้างสรรพสินค้าหรือเปิดในศูนย์อาหารในตลาดนัด ซึ่งมีผลกับเงินมัดจำและอัตราค่าเช่ารายเดือน-รายปี โดยทำเลที่ตั้งร้านจะแพงหรือถูกก็ขึ้นอยู่กับพิกัดของทำเลนั้น, ความหนาแน่น-ระดับรายได้ของประชากร, อุปสงค์-อุปทานของทำเลนั้น ๆ รวมทั้งอาจเกิดจากการเก็งกำไรของเจ้าของพื้นที่ก็ได้
- การตกแต่งของร้านตามรสนิยมส่วนตัวของแฟรนไชส์ซีที่เพิ่มเติมจากข้อตกลงเบื้องต้นในสัญญากับแฟรนไชส์มาสเตอร์ ว่าจะตกแต่งเป็นรูปแบบไหน หรูหรา หรือธรรมดา
- วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจการ ทั้งในส่วนจัดเตรียม-ประกอบอาหาร, ส่วนที่นั่งทานของลูกค้า และส่วนซักล้าง คือร้านใหญ่ก็มีวัสดุอุปกรณ์ที่มากกว่าร้านเล็ก
- จำนวนของพนักงาน, คุณวุฒิของพนักงานและอัตราค่าจ้าง-สวัสดิการต่าง ๆ ที่ให้แก่พนักงาน
จากข้อ 1.- 5. ทำให้สรุปได้เลยว่าไม่สามารถสรุปตัวเลขการลงทุนที่เป็นตัวเลขตายตัวได้เลย ขึ้นอยู่กับทางแฟรนไชส์ซี โดยทางแฟรนไชส์มาสเตอร์จะให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนเพื่อช่วยทางแฟรนไชส์ซีควบคุมงบประมาณในการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุด
6. พอจะบอกตัวเลขเงินลงทุนคร่าว ๆ ได้มั๊ยจะได้เป็นแนวทาง – ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์ได้จัดทำตารางรายการวัสดุ-อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับเปิดร้านขนาดย่อม ๆ ไว้แล้ว ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยทางแฟรนไชส์มาสเตอร์ได้อ้างอิงจากราคาของวัสดุ-อุปกรณ์ที่ได้ทำการสำรวจ และสอบถามจากโรงงาน-ร้านค้าที่รู้จักกัน คือราคาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับเปิดร้านขนาดย่อม ๆ จะมูลค่าไม่เกิน 18,000บาทซึ่งทาง แฟรนไชส์มาสเตอร์ไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากเงินจำนวนนี้ (ยังไม่รวมเคาน์เตอร์ และโต๊ะ+เก้าอี้+ป้ายตกแต่งต่าง ๆ)
7. ทำเลที่ตั้งร้านแบบไหนถึงจะเหมาะสำหรับเปิดร้านสเต็กบีเทสตี้และแฟรนไชส์มาสเตอร์จะมาดูทำเลที่ตั้งร้านให้หรือไม่ – ทำเลที่ตั้งร้านที่เหมาะสมสำหรับเปิดร้านคือเป็นทำเลที่มองเห็นที่ตั้งได้เด่นชัด ไม่อยู่ในมุมอับหรือมืดทึบจนเกินไป มีคนกลุ่มที่มีระดับรายได้ปานกลางถึงรายได้สูงอยู่หนาแน่น การสัญจรไปมาสะดวก มีที่จอดรถ อยู่ใกล้แหล่งชุมชน ส่วนเรื่องที่ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์จะไปดูทำเลที่ตั้งร้านให้หรือไม่นั้น เนื่องจากเรื่องทำเลที่ตั้งร้านเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องศึกษาโดยอาศัยระยะเวลาและความเข้าใจในทำเลนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ ถ้าในช่วงที่แฟรนไชส์มาสเตอร์ไปดูทำเลนั้น ๆ เป็นช่วงพีคของทำเลนั้น ๆ พอดี ก็อาจจะได้คำตอบอย่างหนึ่ง หรือถ้าเป็นช่วงโลว์ของทำเลนั้นๆ ก็อาจจะได้คำตอบอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นทางแฟรนไชส์มาสเตอร์จึงไม่มีนโยบายไปดูทำเลที่ตั้งร้านให้แฟรนไชส์ซี แฟรนไชส์ซีจะต้องลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเอง ด้วยการเฝ้าสังเกต,จดบันทึก,สอบถามและถ่ายรูป เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ,ดูกิจกรรมการค้าและกิจกรรมประเภทอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในทำเลนั้น ๆ ทั้งหมด ,ทิศทางการสัญจรไปมาของคนและยานพาหนะทั้งหมด, สถานที่สำคัญ ๆ ทั้งหมดในทำเลนั้น ๆ รวมทั้งพฤติกรรมโดยรวม ๆ กว้าง ๆ ของผู้คนในทำเลนั้น ๆ ด้วย ระยะเวลาในการดูทำเลนั้นก็จนกว่าทางแฟรนไชส์ซีจะตกผลึกทางความคิด
8. ถ้าดูทำเลจนมั่นใจว่าทำเลนี้พอมีคนหมุนเวียนถ่ายเทพอควร น่าจะเปิดกิจการสเต็กบีเทสตี้ได้แล้วขั้นตอนต่อไปละต้องทำยังไง - โทรศัพท์มานัดหมายกับแฟรนไชส์มาสเตอร์ (ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์สะดวกให้คำแนะนำที่ร้านสเต็กบีเทสตี้สาขาพุทธมณฑลสาย3 ซึ่งร้านจะอยู่ห่างจากปากทางถนนบรมราชชนนีเข้ามาประมาณ 300 เมตร) แฟรนไชส์ซีต้องมีข้อมูลของทำเลที่ตั้งร้านที่ได้สำรวจมาแล้ว, มีเค้าโครงขนาดของร้านที่เปิดอยุ่บ้างแล้ว และมีงบประมาณลงทุนคร่าว ๆ ทางแฟรนไชส์มาสเตอร์จะให้ข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดที่คุณต้องการทั้งในแง่ความเป็นไปได้เบื้องต้นในการเปิดร้าน,ไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐศาสตร์(กำไร-ขาดทุน-การลงทุน-การคืนทุน) ,ตัวอย่างรายการอาหารที่แฟรนไชส์ซีแต่ละสาขาใช้กันอยู่(แต่ละสาขาจะใช้รายการอาหารมาก-น้อยไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน), ตัวอย่างงานออกแบบป้ายต่าง ๆ ให้แฟรนไชส์ซีเลือก รวมทั้งตัวอย่างการทำการตลาดของแฟรนไชส์มาสเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ
9. ถ้าในกรณีแฟรนไชส์ซีเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มอยู่แล้ว สามารถเพิ่มรายการอาหารบางรายการจากสเต็กบีเทสตี้ลงในร้านเดิมของตัวเองได้ไหม – ได้ เนื่องจากทางเราไม่ได้มีข้อผูกมัดเรื่องห้ามไม่ให้แฟรนไชส์ซีจำหน่ายสินค้าประเภทอื่น ๆ ภายในร้านของแฟรนไชส์ซี แต่ต้องแยกรายการอาหารออกจากกันและรายการอาหารห้ามซ้ำกันหรือคล้ายคลึงกัน
10. พอจะบอกได้มั้ยว่าใน 1 เดือนจะได้รายได้สักเท่าไหร่ – โดยคร่าว ๆ คือ ถ้าร้านแฟรนไชส์ซีได้ยอดขายเฉลี่ยประมาณวันละ 100 จาน แฟรนไชส์ซีจะได้เงินรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด(ค่าเช่า+ค่าไฟฟ้า+ค่าน้ำ+ค่าแก๊ส+ขนส่ง+พนักงาน+จิปาถะอื่น ๆ ) ประมาณ 40,000บาทต่อเดือน (แฟรนไชส์มาสเตอร์ได้จัดทำตารางรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นมาทั้งหมดเพื่ออธิบายและแจกแจงให้ทางแฟรนไชส์ซีได้ทราบ โดยทางแฟรนไชส์ซีต้องมารับฟังกับทางแฟรนไชส์มาสเตอร์ในวันที่เดินทางมาคุยกับแฟรนไชส์มาสเตอร์เท่านั้น)
11. การเดินทางมาคุยกับแฟรนไชส์มาสเตอร์ จะมีข้อผูกมัดอะไรมั๊ย – ไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อแฟรนไชส์ซีจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจ
12. ถ้าตกลงว่าจะซื้อแฟรนไชส์สเต็กบีเทสตี้แล้วละ ต้องทำยังไงต่อไป – ต้องนัดเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ, นัดวันที่จะเข้ามาเรียนรู้วิธีการประกอบอาหาร,นัดส่งมอบงานออกแบบป้าย, นัดวันที่จะจัดส่งวัตถุดิบชุดแรกและรายการอาหารที่จะใช้ในร้านแฟรนไชส์ซี
13.เมื่อร้านแฟรนไชส์ซีเปิดดำเนินกิจการแล้ว แฟรนไชส์มาสเตอร์จะเข้ามาดูร้านแฟรนไชส์ซีให้มั๊ย – แฟรนไชส์มาสเตอร์อาจจะเข้าไปดูร้านแฟรนไชส์ซีให้ในช่วงเปิดดำเนินการช่วงแรก ๆ ตามวันและเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของร้านแฟรนไชส์ซีว่าอยู่ที่ไหนด้วย เพื่อช่วยชี้แนะในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นในระหว่างที่ร้านแฟรนไชส์ซีเปิดดำเนินการอยู่นั้น แฟรนไชส์มาสเตอร์ก็อาจจะเข้าไปดูร้านแฟรนไชส์ซีบ้างเป็นบางช่วง
ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นเจ้าของร้านสเต็กได้แต่การที่จะบริหารร้านค้าให้สามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดีโดยตลอดรอดฝั่ง สามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของร้านได้อย่างยั่งยืนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวกับเจ้าของร้านด้วยคือ เจ้าของร้านต้องมีความตั้งใจจริง มานะ อดทน ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ รู้จักใจเขาใจเรา เอาใจใส่ดูแลร้านค้าให้สะอาด เรียบร้อย สวยงาม มีสินค้าขายครบถ้วนในทุก ๆ รายการอาหาร เอาใจใส่ดูแลบุคลากรภายในร้าน เอาใจใส่ดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี มีความเสมอต้นเสมอปลาย คิดดี ทำดี พูดดี เหล่านี้เป็นต้น
Back to Top |